วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ยางรถยนต์ และถุงมือยาง

ผลิตภัณฑ์ยางล้อแม็กซ์เป็นสินค้าเศรษฐกิจสำคัญที่ไทยส่งออกไปออสเตรเลียมีมูลค่ามากเป็นอันดับ 10 ซึ่งสินค้าผลิตภัณฑ์ยางที่ไทยส่งไปมากในอันดับต้นๆ ได้แก่ ยางนอกชนิดอัดลม ที่เป็นของใหม่ (NEW PNEUMATIC TIRES : HS 4011) และเครื่องแต่งกายและของที่ใช้ประกอบกับเครื่องแต่งกาย (รวมถึงถุงมือ) ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม ทำด้วยยางวัลแคไนซ์นอกจากยางแข็ง (ART OF APPAREL AND ACCESSORIES OF UNHARD VULCANIZED RUBBER: HS 4015)   ซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในกรอบการศึกษาถึงผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีกับออสเตรเลีย



การผลิตยางล้อรถยนต์ของไทย แบ่งเป็นการผลิตเพื่อการใช้ในประเทศ ซึ่งถือเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 58 ในขณะที่ประมาณร้อยละ 42 จะเป็นการผลิตเพื่อส่งออก (ข้อมูลปี พ..2544 จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์) และเนื่องจากอุตสาหกรรมนี้ได้มีการขยายกำลังการผลิตไปอย่างมาก ทำให้มีกำลังการผลิตเหลืออยู่ประมาณ 5,768,760 เส้น ในปี พ.. 2544 (ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรม  และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์)

หากพิจารณาประเภทของยางล้อยานยนต์ตามเทคโนโลยีการผลิต จะแบ่งได้เป็นยางเรเดียล (Radial Tire) และยางผ้าใบ (Bias Tire)  จากตารางที่ 3.1 จะเห็นว่าประเทศไทยมีโรงงานที่ผลิตยางเรเดียลเพียงอย่างเดียวอยู่ 2 โรงงาน  โรงงานที่ผลิตยางผ้าใบอย่างเดียวอยู่ 6 โรงงาน และโรงงานที่ผลิตยางทั้งสองประเภทอยู่ 6 โรงงาน  ยางเรเดียลเป็นยางที่มีคุณภาพในการใช้งานสูงกว่ายางผ้าใบ  ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการยึดเกาะถนน  การทนต่อความสึกกร่อน ความปลอดภัย และความเร็วในการขับขี่ที่มีได้สูงกว่า  แต่การลงทุนในเทคโนโลยีก็สูงกว่าเช่นเดียวกัน  เพราะเทคโนโลยีที่ใช้ในยางผ้าใบเป็นเทคโนโลยีเก่า การลงทุนจึงต่ำกว่ามาก  แต่ก็เป็นที่คาดกันว่าแนวโน้มการใช้ยางเรเดียลจะมีมากขึ้น


ผู้ผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์และรถจักรยานในประเทศไทยมีอยู่จำนวน 23 โรงงาน  ในขณะที่ตลาดยางล้อรถจักรยานยนต์ในประเทศจะมีขนาดใหญ่ แต่ตลาดยางล้อรถจักรยานในประเทศยังนับว่ามีขนาดเล็กอยู่มาก เมื่อเทียบกับประเทศจีนและเวียดนาม ซึ่งใช้จักรยานเป็นยานพาหนะหลัก   ตลาดยางรถจักรยานยนต์ที่ใหญ่คือเวียดนาม แต่ก็มีบริษัทข้ามชาติใหญ่ ๆได้เข้าไปลงทุนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทำให้ปริมาณการส่งออกยางรถจักรยานยนต์ของไทยลดลงในปี พ..2544 จากปี พ..2543 เป็นจำนวนมากกว่า 3.7 ล้านเส้น  และสาเหตุสำคัญที่ทำให้การส่งออกยางรถจักรยานยนต์ลดลงก็คือความเสียเปรียบในด้านต้นทุนการผลิตต่อเวียดนามและจีน ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่า  ถึงแม้ยางรถจักรยานยนต์จากไทยจะมีคุณภาพเหนือกว่าก็ตาม  ส่วนอุตสาหกรรมยางรถจักรยานของไทยนั้นก็ยังมีขนาดเล็ก อันเนื่องจากตลาดในประเทศยังมีขนาดจำกัด ถึงแม้ผู้ผลิตจะมีความสามารถในด้านเทคโนโลยีการผลิต แต่ก็ยังมีปัญหาในการแข่งขันด้านการตลาด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น