วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ความเข้าใจผิดในการใช้รถยนต์

                    ในปัจจุบันล้อแม็กซ์คนเราได้มีการใช้ยานพาหนะกันมากขึ้น  ไม่ว่ายานพาหนะนั้นจะเป็นรถยนต์ส่วนตัว,รถยนต์ของหน่วยงาน  หรือรถยนต์เอกชน  ผู้ใช้รถยนต์จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีในการใช้รถอย่างถูกต้อง  ไม่ว่าจะเป็นการดูแลบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี  เพื่อที่จะช่วยในการประหยัดและยืดอายุการ       ใช้งานยานพาหนะให้ยาวนานขึ้น และพฤติกรรมหรือความเข้าใจผิดของผู้ใช้รถบางกลุ่ม  อาจส่งผลกระทบกับรถยนต์ทันที  หรืออาจจะแสดงผลกระทบในภายหลัง  ส่วนใหญ่เกิดจากความเข้าใจผิดของผู้ใช้ยานพาหนะ  โดยเฉพาะเรื่องที่มักจะเกิดความเข้าใจผิดต่อไปนี้
 
1. "สตาร์ทแล้วออกรถได้เลยไม่ต้องอุ่นเครื่อง" 
                    ความจริง  ควรจะอุ่นเครื่องยนต์ก่อนออกรถจะดีกว่า เพราะว่าถ้าเครื่องยนต์ทำงานขณะที่ยัง "เย็น" อยู่  เช่น ขณะออกรถจากบ้านไปทำงานตอนเช้า หรือติดเครื่องยนต์เมื่องานเลิกเพื่อกลับบ้าน ไอของเชื้อเพลิงที่เข้มข้นจะเกาะผนังกระบอกสูบ และละลายปะปนกับฟีล์มน้ำมันเครื่องที่ฉาบผนังอยู่  ทำให้การหล่อลื่นแหวนลูกสูบกับผนังกระบอกสูบไม่เพียงพอ สร้างความสึกหรอในเครื่องยนต์มากกว่าปกติ นอกจากนี้ทั้งเชื้อเพลิงที่ระเหยไม่หมด  และไอน้ำที่เกิดจากการเผาไหม้ขณะเครื่องยังเย็นนี้ ยังละลายปะปนอยู่ในน้ำมันเครื่อง  ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็วขึ้นอีกด้วย
 
2. "รถใหม่สมัยนี้ ไม่ต้อง รันอิน" 
                    ความจริง  รถใหม่ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ต้องรันอิน รถรุ่นใหม่ๆ แม้จะมีการควบคุมคุณภาพอย่างดีแล้วก็ตาม แต่เครื่องยนต์ใหม่ควรต้องผ่านการรันอินและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสักครั้งก่อนที่จะใช้งานอย่างเต็มที่ เพราะเศษโลหะที่ตกค้างอยู่ในระบบจะได้ถูกชะล้างออกไป การรันอินนั้นทำได้ไม่ยาก โดยในช่วง 1,000 กม. แรก ไม่เร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรง หรือใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงมากๆ ถ้าใช้รอบเครื่องไม่เกิน 3,000 รอบต่อนาที ได้ก็จะดี และเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะที่ผู้ผลิตกำหนด ซึ่งเคยมีผู้ใช้รถบางคนไม่นำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็ค โดยอาจจะให้เหตุผลว่า เสียเวลา เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทำที่ไหนก็ได้ อย่างนี้ "น่าเสียดาย" แทนจริงๆ  เพราะถ้าเกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์แล้วจะเรียกร้องเอากับใครไม่ได้
 
3. "ยกขาก้านปัดน้ำฝนขณะจอดช่วยยืดอายุใบปัด"
                    ความจริง  ถ้าทำเช่นนั้นจะทำให้สปริงในก้านที่ปัดน้ำฝนจะอ่อน และเสียเร็วขึ้น ส่วนสำคัญที่ทำให้ที่ปัดน้ำฝนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพประกอบด้วย ใบปัด แผ่นยางซึ่งทำหน้าที่รีดน้ำจากกระจกบังลมหน้า ปกติจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี หากใช้นานกว่านั้นเนื้อยางจะแข็งตัวหรือมีการฉีกขาด ไม่ว่าจะยกไว้หรือไม่ก็ตาม อีกส่วนคือ ก้านใบปัด ที่มีสปริงคอยดึงให้ใบปัดแนบสนิทกับกระจก ซึ่งรับแรงจากคันโยก และมอเตอร์ ตัวนี้มีราคาสูงกว่าใบปัด การยกก้านเมื่อจอดตากแดด สปริงจะถูกดึงให้ยืดออกตลอดเวลา อายุการใช้งานสั้นลง ทำให้ต้องจ่ายแพงกว่าเดิมหลายเท่าถ้าต้องเปลี่ยนทั้งชุด 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น