วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ความเข้าใจผิดในการใช้รถยนต์

                    ในปัจจุบันล้อแม็กซ์คนเราได้มีการใช้ยานพาหนะกันมากขึ้น  ไม่ว่ายานพาหนะนั้นจะเป็นรถยนต์ส่วนตัว,รถยนต์ของหน่วยงาน  หรือรถยนต์เอกชน  ผู้ใช้รถยนต์จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีในการใช้รถอย่างถูกต้อง  ไม่ว่าจะเป็นการดูแลบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี  เพื่อที่จะช่วยในการประหยัดและยืดอายุการ       ใช้งานยานพาหนะให้ยาวนานขึ้น และพฤติกรรมหรือความเข้าใจผิดของผู้ใช้รถบางกลุ่ม  อาจส่งผลกระทบกับรถยนต์ทันที  หรืออาจจะแสดงผลกระทบในภายหลัง  ส่วนใหญ่เกิดจากความเข้าใจผิดของผู้ใช้ยานพาหนะ  โดยเฉพาะเรื่องที่มักจะเกิดความเข้าใจผิดต่อไปนี้
 
1. "สตาร์ทแล้วออกรถได้เลยไม่ต้องอุ่นเครื่อง" 
                    ความจริง  ควรจะอุ่นเครื่องยนต์ก่อนออกรถจะดีกว่า เพราะว่าถ้าเครื่องยนต์ทำงานขณะที่ยัง "เย็น" อยู่  เช่น ขณะออกรถจากบ้านไปทำงานตอนเช้า หรือติดเครื่องยนต์เมื่องานเลิกเพื่อกลับบ้าน ไอของเชื้อเพลิงที่เข้มข้นจะเกาะผนังกระบอกสูบ และละลายปะปนกับฟีล์มน้ำมันเครื่องที่ฉาบผนังอยู่  ทำให้การหล่อลื่นแหวนลูกสูบกับผนังกระบอกสูบไม่เพียงพอ สร้างความสึกหรอในเครื่องยนต์มากกว่าปกติ นอกจากนี้ทั้งเชื้อเพลิงที่ระเหยไม่หมด  และไอน้ำที่เกิดจากการเผาไหม้ขณะเครื่องยังเย็นนี้ ยังละลายปะปนอยู่ในน้ำมันเครื่อง  ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็วขึ้นอีกด้วย
 
2. "รถใหม่สมัยนี้ ไม่ต้อง รันอิน" 
                    ความจริง  รถใหม่ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ต้องรันอิน รถรุ่นใหม่ๆ แม้จะมีการควบคุมคุณภาพอย่างดีแล้วก็ตาม แต่เครื่องยนต์ใหม่ควรต้องผ่านการรันอินและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสักครั้งก่อนที่จะใช้งานอย่างเต็มที่ เพราะเศษโลหะที่ตกค้างอยู่ในระบบจะได้ถูกชะล้างออกไป การรันอินนั้นทำได้ไม่ยาก โดยในช่วง 1,000 กม. แรก ไม่เร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรง หรือใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงมากๆ ถ้าใช้รอบเครื่องไม่เกิน 3,000 รอบต่อนาที ได้ก็จะดี และเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะที่ผู้ผลิตกำหนด ซึ่งเคยมีผู้ใช้รถบางคนไม่นำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็ค โดยอาจจะให้เหตุผลว่า เสียเวลา เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทำที่ไหนก็ได้ อย่างนี้ "น่าเสียดาย" แทนจริงๆ  เพราะถ้าเกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์แล้วจะเรียกร้องเอากับใครไม่ได้
 
3. "ยกขาก้านปัดน้ำฝนขณะจอดช่วยยืดอายุใบปัด"
                    ความจริง  ถ้าทำเช่นนั้นจะทำให้สปริงในก้านที่ปัดน้ำฝนจะอ่อน และเสียเร็วขึ้น ส่วนสำคัญที่ทำให้ที่ปัดน้ำฝนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพประกอบด้วย ใบปัด แผ่นยางซึ่งทำหน้าที่รีดน้ำจากกระจกบังลมหน้า ปกติจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี หากใช้นานกว่านั้นเนื้อยางจะแข็งตัวหรือมีการฉีกขาด ไม่ว่าจะยกไว้หรือไม่ก็ตาม อีกส่วนคือ ก้านใบปัด ที่มีสปริงคอยดึงให้ใบปัดแนบสนิทกับกระจก ซึ่งรับแรงจากคันโยก และมอเตอร์ ตัวนี้มีราคาสูงกว่าใบปัด การยกก้านเมื่อจอดตากแดด สปริงจะถูกดึงให้ยืดออกตลอดเวลา อายุการใช้งานสั้นลง ทำให้ต้องจ่ายแพงกว่าเดิมหลายเท่าถ้าต้องเปลี่ยนทั้งชุด 
Read More


นโยบายอุตสาหกรรมรถยนต์ฉบับใหม่ของมาเลเซีย

รัฐบาลมาเลเซียกำลังเตรียมการประกาศนโยบายอุตสาหกรรมรถยนต์ล้อแม็กซ์ฉบับใหม่เร็วๆ นี้ ซึ่งคาดว่าอาจเป็นประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนนี้ โดยนโยบายฉบับใหม่จะยกเลิกการปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาษีหรือข้อกีดกันอื่นๆ
          อย่างไรก็ตามบุคคลที่คุ้นเคยกับรัฐบาลมาเลเซียเป็นอย่างดีและบุคคลในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ในมาเลเซียต่างก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่นโยบายอุตสาหกรรมรถยนต์ฉบับใหม่จะก่อให้เกิดการเปิดตลาดรถยนต์ในมาเลเซียอย่างเสรี รวมทั้งจะยังคงไม่เป็นไปตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ซึ่งมาเลเซียได้มีพันธกรณีไว้

          บุคคลเหล่านี้ยังเชื่อด้วยว่ามาเลเซียจะยังคงอัตราภาษีนำเข้าและภาษีสรรพสามิตไว้สูงต่อไปสำหรับรถยนต์ที่นำเข้ามาจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียน และบริษัทโปรตอนผู้ผลิตรถยนต์แห่งชาติจะยังคงได้รับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีนำเข้าชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ที่ต่ำกว่าบริษัทรถยนต์ต่างชาติที่เข้ามาประกอบรถยนต์ในมาเลเซียต่อไป รวมทั้งจะได้รับการสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาจากรัฐบาลอีกด้วย แต่ก็เป็นไปได้ว่ารัฐบาลจะสนับสนุนการเข้ามาลงทุนของต่างชาติในการตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ในประแทศมาเลเซียมากขึ้นด้วยการลดภาษีนำเข้าและภาษีสรรพสามิตให้กับผู้ลงทุนต่างชาติ
          ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2005 เป็นต้นมา รถยนต์และชิ้นส่วนประกอบที่ผลิตในประเทศกลุ่มอาเซียน รวมทั้งรถยนต์ต่างชาติที่ใช้วัตถุดิบในกลุ่มอาเซียน (Local content) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ได้มีการปรับให้เสียภาษีนำเข้าร้อยละ 20 อันเป็นผลจากการที่มาเลเซียขอผ่อนผันการนำรายการสินค้ารถยนต์เข้าสู่การลดเลิกภาษี โดยได้ขอเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2004 ที่อัตราภาษีร้อยละ 25 และร้อยละ 35 และจะลดอัตราภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี 2008 ซึ่งล่าช้าตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงอาฟต้าถึง 5 ปี ในขณะเดียวกันมาเลเซียก็ได้ปรับอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์และชิ้นส่วนประกอบเพิ่มสูงจากร้อยละ 30 100 ในปี 2004 มาเป็นร้อยละ 40-250 โดยอ้างว่าเพื่อรักษาระดับรายได้ของรัฐบาล ซึ่งการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตสูงขึ้นดังกล่าวทำให้รถยนต์และชิ้นส่วนประกอบนำเข้ายังคงมีราคาสูงเช่นเดิมแม้ว่าจะปรับลดอัตราภาษีนำเข้าแล้ว ที่ร้ายไปกว่านั้น บริษัทรถยนต์แห่งชาติได้แก่โปรตอนและเพอโรดัว ยังสามารถขอคืนค่าภาษีสรรพสามิตได้ถึงร้อยละ 50 ซึ่งมีผลให้รถยนต์แห่งชาติมีราคาจำหน่ายต่ำกว่ารถยนต์ยี่ห้ออื่น
          จากการปรับอัตราภาษีรถยนต์ที่ไร้ความจริงใจของรัฐบาลมาเลเซียและไม่เป็นไปตาม Spirit of ASEAN ทำให้บริษัทรถยนต์ต่างชาติลังเลใจและเฝ้ารอการประกาศนโยบายอุตสาหกรรมรถยนต์ของมาเลเซียฉบับใหม่ก่อนที่จะเข้ามาลงทุนในมาเลเซีย ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียก็ตระหนักถึงปัญหาการยกเลิกหรือย้ายสถานที่ลงทุนไปยังประเทศอื่นของทุนต่างชาตินี้ดี จึงยังคงเลื่อนการใช้อัตราภาษีใหม่ไปจนถึงเดือนมิถุนายนและรีรอที่จะประกาศนโยบายอุตสาหกรรมรถยนต์ฉบับใหม่ต่อไป
          ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ของมาเลเซียมีบริษัทประกอบรถยนต์จำนวน 34 บริษัท และผู้จำหน่ายชิ้นส่วนรถยนต์อีกหลายสิบราย มีการจ้างงานประมาณ 1 แสนคน ในปี 2004 มีการลงทุนสูงถึง 1.2 พันล้านริงกิต หรือประมาณ 0.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
          ผู้บริหารในอุตสาหกรรมรถยนต์กล่าวว่า การที่มาเลเซียยังไม่เต็มใจที่จะเปิดเสรีตลาดรถยนต์เนื่องมาจากต้องการปกป้องรถยนต์แห่งชาติโปรตอน ซึ่งเป็นผลผลิตทางความคิดของอดีตนายกรัฐมนตรี Tun Dr.Mahathir Mohamad ซึ่งได้ก่อตั้งและผลิตรถยนต์โปรตอนมาตั้งแต่ปี 1985 ครอบครองตลาดรถยนต์นั่งในมาเลเซียถึงร้อยละ 40 ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรถยนต์กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ว่าโปรตอนจะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดอย่างแน่นอนหากมีการเปิดตลาดเสรีในปี 2008 ทั้งนี้เนื่องมาจากคุณภาพและสมรรถนะของรถยนต์ต่ำมาก ทำให้ผู้บริโภคนิยมซื้อรถยนต์ยี่ห้ออื่นมีราคาแพงกว่า
          จากเหตุผลทางการเมือง เป็นไปได้ว่านายกรัฐมนตรี Datuk Seri Abdullah Ahmad Badawi จะไม่กล้าเปิดตลาดเสรีมากขึ้นเนื่องจากไม่ต้องการเผชิญกับนายกรัฐมนตรีคนก่อนที่ปัจจุบันเข้าไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาบริษัทโปรตอนตั้งแต่ปีที่แล้ว รวมทั้งอาจต้องเผชิญหน้ากับบริษัทเล็กๆ รายอื่นๆ ที่มีสายสัมพันธ์ทางการเมืองรวมทั้งบุคคลที่ถือใบอนุญาตของรัฐในการนำเข้ารถยนต์อีกด้วย
          ใบอนุญาตนำเข้ารถยนต์ที่เรียกว่า Approved Permits หรือ Aps เป็นใบอนุญาตที่ออกให้บุคคลใดบุคลหนึ่งเปรียบเสมือนการให้โควต้าในการนำเข้ารถยนต์แก่บุคคลนั้นๆ ด้วยเหตุผลที่ว่ารถยนต์ที่นำเข้ามาในประเทศมาเลเซียจะต้องมีการควบคุมก่อนที่จะจำหน่ายในประเทศ ใบ Aps ดังกล่าวออกโดยกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม ปัจจุบันสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ถือใบอนุญาตดังกล่าวรวมกันถึงปีละ 270 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยผู้ถือ Aps สามารถขายสิทธิ์ในการนำเข้ารถยนต์ให้กับผู้จำหน่ายรถยนต์คันละ 10,000 50,000 ริงกิตขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่น และผู้จำหน่ายรถยนต์จะบวกต้นทุนดังกล่าวรวมกับราคารถยนต์และภาษีต่างๆ เป็นราคาขายในตลาด
          ข้อคิดเห็นสำนักงานฯ

          สำนักงานฯ มีความเห็นว่านโยบายอุตสาหกรรมรถยนต์ฉบับใหม่ที่จะประกาศออกมาจะยังคงให้การปกป้องรถยนต์แห่งชาติเช่นเดิมแต่อาจมีมาตรการใหม่ๆ บ้าง เพื่อจูงใจการลงทุนของต่างชาติไม่ให้เคลื่อนย้ายการลงทุนไปประเทศอื่น รวมทั้งใช้เป็นข้อต่อรองในการทำ FTA กับประเทศต่างๆ 
Read More


FTAไทย-ญี่ปุ่นอุ้มอุตฯรถยนต์ไทยกสิกรไทยชี้เปิดโอกาสชิ้นส่วนไทยแก้จุดอ่อนเสริมจุดแข็งก่อนเปิดเสรีปี 2554

แหล่งข่าวจากวงการรถยนต์ ล้อแม็กซ์ เปิดเผยว่า  ข้อสรุปในการเจรจาครั้งนี้ จะทำให้รถยนต์หรูหราของญี่ปุ่นมีโอกาสในการเปิดตลาดมากขึ้นกว่าเดิม และอาจสั่นคลอนตลาดค่ายรถยนต์ยุโรปได้   โดยค่ายรถชั้นนำอย่างเลกซัส รุ่นเครื่องยนต์ขนาดเกินกว่า 3,000 ซีซี. มีโอกาสที่จะทำราคาและยอดขายมาเบียดกับบีเอ็มดับเบิลยู 735 หรือเบนซ์ เอส 350 ก็เป็นได้

          ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ถึงการเปิดเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ว่า การเจรจาที่ผ่านมา  ข้อเสนอของทางญี่ปุ่นในการเปิดเสรีนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์และรถยนต์สำเร็จรูป (Completely-Built-Up:CBU) ภายในเวลาอันรวดเร็วนั้น  ได้รับการคัดค้านจากหลายฝ่ายรวมทั้งจากผู้ประกอบการในประเทศ  ทั้งจากกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของคนไทยในประเทศ  และจากกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ค่ายตะวันตกคือยุโรปและสหรัฐ  เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อดุลการค้าไทยที่กำลังประสบปัญหาขาดดุลอยู่ในขณะนี้ เพราะการเปิดเสรีจะยิ่งทำให้มูลค่านำเข้าของไทยเพิ่มสูงขึ้น   ทั้งการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากญี่ปุ่น  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทะลักเข้ามาของรถยนต์สำเร็จรูปจากญี่ปุ่น   ซึ่งเป็นการนำเข้าเพื่อการบริโภคเท่านั้นมิได้ก่อประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ  อีกทั้งไม่ก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ
          ขณะเดียวกัน  ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่ๆทั้งจากยุโรปและสหรัฐมีการยื่นหนังสือที่ลงนามโดยผู้แทนของค่ายผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายรถยนต์จากยุโรปและสหรัฐในประเทศไทยรวม 8 บริษัท เสนอต่อรัฐบาลไทยไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยระบุถึงผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการลดภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปขนาดเครื่องยนต์ตั้งแต่ 3,000 ซีซีขึ้นไป(ซึ่งก็คือรถยนต์นั่งประเภทหรูหรา)จากประเทศญี่ปุ่นโดยทันที และให้ยกเลิกภาษีภายในปี 2553   อันจะส่งผลต่ออุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ในไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นการลงทุนจากค่ายรถใหญ่ๆจากยุโรปและสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันได้มีการผลิตรถยนต์หลากหลายรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์นั่งประเภทหรูหราซึ่งส่วนใหญมีขนาดเครื่องยนต์ระหว่าง 2,500-3,000 ซีซี. ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก   เพราะข้อตกลงดังกล่าวจะสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบให้กับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศต่างๆ ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยไม่เท่าเทียมกัน แต่ในที่สุด ได้สรุปให้มีลดภาษีแบบขั้นบันได ลดจาก 80 % เป็น 60 % ภายใน 4 ปี
          นอกจากนี้ ทางไทยยืนยันจะไม่การลดภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปในเวลานี้  ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ   ซึ่งจากอดีตจนปัจจุบันนอกเหนือจากรถยนต์กระบะขนาดหนึ่งตันซึ่งมีขนาดเครื่องยนต์อยู่ที่ประมาณ 2,000-2,500 ซีซี.แล้ว   รถยนต์นั่งที่ผลิตได้ในประเทศเกือบทั้งหมดเป็นรถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ต่ำกว่า 3,000 ซีซี.   ทั้งนี้ในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้  จากปริมาณการผลิตรถยนต์ในประเทศทั้งหมด 517,829  คัน    ในจำนวนนี้เป็นรถยนต์นั่งจำนวน 131,881  คัน ดังนั้น การเปิดเสรีรถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ต่ำกว่า 3,000 ซีซี. จึงไม่มีความจำเป็นในขณะนี้เพราะจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศ
          ศูนย์วิจัยกสิกรไทย  ระบุต่อไปว่า  การเจรจาได้ข้อสรุปว่าทางไทยจะเปิดเสรีชิ้นส่วนยานยนต์ โดยจะมีการกำหนดระยะเวลาให้ลดอัตราภาษีเหลือร้อยละ 0 ในปี 2554  เพื่อให้ผู้ผลิตของไทยมีเวลาปรับตัวเพื่อรับกับการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้น   อันจะเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตเพื่อการแข่งขันในตลาดโลกตามเป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทย   อีกทั้งการลดภาษีชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีคุณภาพจากญี่ปุ่นเพื่อนำมาใช้อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ส่งออกก็จะเป็นการสนับสนุนเป้าหมายสู่การศูนย์กลางการผลิตยานยนต์เพื่อส่งออกไปตลาดโลกหรือดีทรอยต์แห่งเอเชียด้วย
          อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่าการเปิดเสรีชิ้นส่วนยานยนต์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตของคนไทย ซึ่งจะต้องมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้  แต่ทั้งนี้คาดว่าภาครัฐน่าจะเข้ามาเสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก  ไม่ว่าจะเป็นการดูแลในด้านวัตถุดิบทั้งยาง  พลาสติก และเหล็ก ให้มีปริมาณ คุณภาพ และต้นทุนที่เหมาะสม  และที่สำคัญคือการพัฒนาบุคลากรในประเทศ ให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอที่จะรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
Read More


ยางรถยนต์ และถุงมือยาง

ผลิตภัณฑ์ยางล้อแม็กซ์เป็นสินค้าเศรษฐกิจสำคัญที่ไทยส่งออกไปออสเตรเลียมีมูลค่ามากเป็นอันดับ 10 ซึ่งสินค้าผลิตภัณฑ์ยางที่ไทยส่งไปมากในอันดับต้นๆ ได้แก่ ยางนอกชนิดอัดลม ที่เป็นของใหม่ (NEW PNEUMATIC TIRES : HS 4011) และเครื่องแต่งกายและของที่ใช้ประกอบกับเครื่องแต่งกาย (รวมถึงถุงมือ) ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม ทำด้วยยางวัลแคไนซ์นอกจากยางแข็ง (ART OF APPAREL AND ACCESSORIES OF UNHARD VULCANIZED RUBBER: HS 4015)   ซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในกรอบการศึกษาถึงผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีกับออสเตรเลีย



การผลิตยางล้อรถยนต์ของไทย แบ่งเป็นการผลิตเพื่อการใช้ในประเทศ ซึ่งถือเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 58 ในขณะที่ประมาณร้อยละ 42 จะเป็นการผลิตเพื่อส่งออก (ข้อมูลปี พ..2544 จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์) และเนื่องจากอุตสาหกรรมนี้ได้มีการขยายกำลังการผลิตไปอย่างมาก ทำให้มีกำลังการผลิตเหลืออยู่ประมาณ 5,768,760 เส้น ในปี พ.. 2544 (ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรม  และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์)

หากพิจารณาประเภทของยางล้อยานยนต์ตามเทคโนโลยีการผลิต จะแบ่งได้เป็นยางเรเดียล (Radial Tire) และยางผ้าใบ (Bias Tire)  จากตารางที่ 3.1 จะเห็นว่าประเทศไทยมีโรงงานที่ผลิตยางเรเดียลเพียงอย่างเดียวอยู่ 2 โรงงาน  โรงงานที่ผลิตยางผ้าใบอย่างเดียวอยู่ 6 โรงงาน และโรงงานที่ผลิตยางทั้งสองประเภทอยู่ 6 โรงงาน  ยางเรเดียลเป็นยางที่มีคุณภาพในการใช้งานสูงกว่ายางผ้าใบ  ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการยึดเกาะถนน  การทนต่อความสึกกร่อน ความปลอดภัย และความเร็วในการขับขี่ที่มีได้สูงกว่า  แต่การลงทุนในเทคโนโลยีก็สูงกว่าเช่นเดียวกัน  เพราะเทคโนโลยีที่ใช้ในยางผ้าใบเป็นเทคโนโลยีเก่า การลงทุนจึงต่ำกว่ามาก  แต่ก็เป็นที่คาดกันว่าแนวโน้มการใช้ยางเรเดียลจะมีมากขึ้น


ผู้ผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์และรถจักรยานในประเทศไทยมีอยู่จำนวน 23 โรงงาน  ในขณะที่ตลาดยางล้อรถจักรยานยนต์ในประเทศจะมีขนาดใหญ่ แต่ตลาดยางล้อรถจักรยานในประเทศยังนับว่ามีขนาดเล็กอยู่มาก เมื่อเทียบกับประเทศจีนและเวียดนาม ซึ่งใช้จักรยานเป็นยานพาหนะหลัก   ตลาดยางรถจักรยานยนต์ที่ใหญ่คือเวียดนาม แต่ก็มีบริษัทข้ามชาติใหญ่ ๆได้เข้าไปลงทุนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทำให้ปริมาณการส่งออกยางรถจักรยานยนต์ของไทยลดลงในปี พ..2544 จากปี พ..2543 เป็นจำนวนมากกว่า 3.7 ล้านเส้น  และสาเหตุสำคัญที่ทำให้การส่งออกยางรถจักรยานยนต์ลดลงก็คือความเสียเปรียบในด้านต้นทุนการผลิตต่อเวียดนามและจีน ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่า  ถึงแม้ยางรถจักรยานยนต์จากไทยจะมีคุณภาพเหนือกว่าก็ตาม  ส่วนอุตสาหกรรมยางรถจักรยานของไทยนั้นก็ยังมีขนาดเล็ก อันเนื่องจากตลาดในประเทศยังมีขนาดจำกัด ถึงแม้ผู้ผลิตจะมีความสามารถในด้านเทคโนโลยีการผลิต แต่ก็ยังมีปัญหาในการแข่งขันด้านการตลาด
Read More


วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ประเภทก้านของล้อแม็กซ์

เคยสังเกตุใหม่ว่าล้อแม็กซ์มีหลายแบบ 


แน่นอนว่าทุกท่านเคยเห็นล้อแม็กซ์กันมาก็มากอยู่พอสมควร แต่เคยดูไหมว่ามันมีอะไรบ้างเช่นประเภทของล้อแม็กซ์มีอะไรบ้าง จริง ๆ แล้ววันนี้เราจะมานำเสนอและบอกในเรื่องของประเภทของล้อแม็กซ์นั้นเอง

โดยปกติ ล้อทุกประเภท ที่ถูกผลิตจากโรงงานล้อแม็กซ์ชั้นนำ ล้อแม็กจะต้องผ่านการทดสอบเรื่องของความแข็งแรงอยู่แล้ว  แต่ทั้งนี้  เราเองก็จำเป็นที่จะต้อง เลือกหาให้เหมาะสมกับการใช้งานกับตัวเราด้วย  เช่นไม่ใช้ ล้อแม็กซ์ ที่ก้านเรียวเล็ก กับรถที่เราต้องบรรทุกหรือวิ่งในเส้นทางที่สภาพถนน ขรุขระ เป็นหลุมบ่อ เพราะอาจจะทำให้ล้อนั้นเกิดการชำรุดเสียหายได้ง่าย

ซึ่งเราได้ยกตัวอย่างรูปแบบของ ล้อแม็กซ์ ตามสไตล์ต่างๆ มาให้เลือกเพื่อเป็นแนวทางต่อการใช้งานดังต่อไปนี้


ประเภท จาน (Disc Type)ลักษณะแบบนี้ ถูกออกแบบเพื่อการแบกรับน้ำหนักโดยเฉพาะ มักพบมากกับรถที่ต้องการบรรทุก หรือ รับน้ำหนักจากสิ่งของ สัมภาระ เป็นต้น ซึ่งเป็นล้อแม็กซ์ที่นักแต่งรถไม่ค่อยจะนิยมกันเท่าไร


ประเภท ก้านใหญ่ (Spoke Type)
ลักษณะแบบนี้ ก็ทำให้สวยขึ้นกว่าแบบจาน Disc แต่ยังคงความสามารถในการรับน้ำหนักได้ดีพอควร จึงใช้ได้ทุกสภาพถนนปกติ และอาจเป็นรถนั่งขนาดใหญ่หรือซีดาน อันนี้ต้องบอกว่าเป็นล้อแม็กซ์ที่ได้รับการนิยมจากพวกแต่งรถเป็นอย่างมาก

ประเภทก้านเล็ก (Fin Type)
ออกแบบให้ดูสวย ก้านเรียวเล็ก โปร่ง จึงดูสวยน่าใส่  แต่ก็เช่นเดียวกัน การแบกรับน้ำหนักย่อมน้อยไปด้วย เหมาะกับการใช้ตามถนนที่เรียบและควรหลีกเลี่ยงสภาพถนนที่เป็นหลุมหรือขั้นขวางถนน


ประเภท ตาข่าย (Mesh type)
ลักษณะเป็นการผสมผสานกัน ที่ยังคงใช้ก้านที่เล็ก แต่ก็ออกแบบให้มีก้านเพิ่มมากขึ้น เกาะเกี่ยวกันเป็นตาข่าย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงขึ้น แต่มักมีปัญหาในการทำความสะอาด แน่นอนว่าหลาย ๆ ท่านจะเห็นกันใน BMW ยี่ห้อส่วนมากจะเป็น ล้อแม็กซ์จาก BBS ซึ่งได้รับความนิยมแถมยังแข็งแรงและทนทานเป็นอย่างมาก

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกัยประเภทของล้อแม็กซ์ที่ทีมงานเอามานำเสนอในวันนี้ต้องบอกก่อนนะครับว่าเป็นแค่เนื้อหาเบื้องต้นซึ่งจริง ๆ แล้วหากเราเอารถไปที่ศูนย์เปลี่ยนล้อแม็กซ์ อันนี้แน่นอนว่ามีให้เลือกกันอย่างจุใจกันไปเลย แถมราคาอาจจะไม่แพง อย่างไรก้ตามคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งานด้วยนะ

เครดิตภาพจาก http://www.wheelspecthailand.com


Read More